วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Multi-service access node ( MSAN )

0 ความคิดเห็น

พอดีช่วงนี้ทำงานเกี่ยวกับเรื่อง MSAN ก็เลยต้องหาข้อมูล ไหนๆก็ทำบล็อคเลยนำมาเผยแพร่ซะเลย




Multi-service access node (MSAN)


แอพพลิเคชั่นต่างๆ ล้วนแต่ต้องการ bandwidth ของการส่งข้อมูลค่อนข้าางสูงอุปกรณ์ multi service access node (MSAN) จึงเป็นหนึ่งในโซลูชั่น ที่บริษัท Telco (ศัพท์ในวงการโทรคมเรียก บริษัทโทรคมนาคม) ต่างๆ นํามาใช้ปรับปรุงโครงข่ายปลายทางของตน
อุปกรณ์ MSAN ประกอบไปด้วย service card ที่สามารถเชื่อมต่อ (Interface) ได้หลากหลายรูปแบบบนอุปกรณ์ MSAN ตัวเดียวกัน หรืออาจจะมองว่าเป็นการรวมระหว่างอุปกรณ์ DSLAM ซึ่งเน้นเฉพาะการให้ บริการข้อมูลความเร็วสูง (Broadband Data) เข้ากับ
อุปกรณ์ DLC (Digital Line Controller) ที่เน้นการให้บริการประเภทเสียง (Voice) เป็นหลัก รวมทั้งมีคุณสมบัติ (feature) ที่เป็น media gateway อีกด้วย ตัวอย่างการเชื่อมต่อ (interface) กับลูกค้าแยกตามประเภทธุรกิจและสื่อตัวนํามีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ลูกค้าประเภทที่อยู่อาศัย (Residential Triple Play) บนสื่อที่เป็นสายทองแดง
• ADSL, ADSL2+ • Voice over IP (VoIP) บนสื่อที่เป็นใยแก้วนําแสง
• Fiber to the home (FTTH)
• Ethernet over single fiber
ลูกค้าประเภทธุรกิจ (Business Metro Ethernet) บนสื่อที่เป็นสายทองแดง
• ADSL2+, VDSL (Very high rate Digital Subscriber Line)
• SHDSL (Symmetry High Speed Digital Subscriber Line) บนสื่อที่เป็นใยแก้วนําแสง
• Fiber to the business (FTTB)
• Ethernet over single fiber
• E1/T1 CESoIP (วงจรเช่า E1/T1 บนไอพีเทคโนโลยี)
ผู้ผลิตอุปกรณ์ (vendor) หลายราย เริ่มมีการผลิตอุปกรณ์ MSAN ออกมาจําหน่ายในตลาดอุปกรณ์ โทรคมนาคม ตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งอาจจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปบ้างเช่น MSAN, MSAP, MALC (Multi Access Line Concentrator) IP DSLAM, Next-Gen DLC อาจจะมีรูปลักษณ์ภายนอกของอุปกรณ์แตกต่างกันบ้างแล้วแต่ยี่ห้อ อย่างไรก็ตามถ้าพิจารณาจากลักษณะการใช้งานแล้ว ก็จะใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างเพียงแค่การเชื่อมต่อ (interface card) หรือจํานวนพอรท์ต่อสลอท (port/slot) ตัวอย่างอุปกรณ์MSANของยี่ห้อต่างๆ Allied Telesyn model 9700 (ผลิตภัณฑ์จากประเทศสหรัฐอเมริกา)
Control Module
• 24-port ADSL2+ Annex A/B – video optimized
• 8-port ADSL2+ (integrated splitters)
• 16-port SHDSL
• 24-port POTS (VoIP)
• 10-port FE
• 10-port LX (dual long)
• 10-port FX (dual short)
• 10-port BX (single fibre)
• 10-port GE
• T1/E1 CES and nxT1/E1

ข้อมูลข้างต้นเป็น MSAN รุ่นใหญ่สําหรับติดตั้งที่ชุมสาย (max capacity 170 port) โดยมีรายละเอียดแต่ละ module ดังนี้
• Service module 17 slot - โดยทั่วไปแล้วสามารถเลือก plug card ได้หลายรูปแบบ
• Network module 2 slots - เพื่อทําการเชื่อมต่อ uplink ไปยัง Transport network
• Control module 1 slot - ไว้สําหรับทําการควบคุมและแจ้งเตือนเหตุ เสียของอุปกรณ์ (EMS :Element Management System) Service module
• เชื่อมต่อได้หลายมาตรฐาน เชน ADSL, ADSL2+, VDSL, G.SHDSL, POTS เป็นต้น
• เชื่อมต่อมาตรฐาน Fast Ethernet (FE) 10/100 Mbpsได้ 10 พอร์ต/การ์ด อินเทอเฟสมีให้เลือกทั้งแบบ RJ-45 และแบบใย
แก้วนําแสง (optical fiber) ซึ่งประกอบไปด้วย FX (2 km), LX (10 km), BX (10 km; single mode) ส่วนการจะเลือกใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับระยะห่างจากชุมสายไปยัง site ของลูกค้า
• เชื่อมต่อมาตรฐาน POTS ซึ่งการ์ดนี้ทําหน้าที่แปลงสัญญาณโทรศัพท์อนาล็อค ให้ใช้กับโครงข่าย VoIP ได้เสมือนเป็นโทรศัพท์
ไอพี (IP Phone)
มาตรฐานและโปรโตคอล • จัดประเภทความสําคัญของแต่ละแพกเกจ (Class of service; 802.1p) ได้4 ประเภท
• สามารถจัดประเภทของแต่ละแอพพลิเคชั่น โดยแบ่งเป็น VLAN ย่อยๆ ได้ โดยใช้โปรโตคอล 802.1q
• ทํา input rate limiting และ output rate shaping
• ทํา IP Multicasting โดยใช้โปรโตคอล IGMP Snooping ทําให้ช่วยประหยัด bandwidth Allied Telesyn model 9400
สําหรับ MSAN รุ่นนี้ เป็นรุ่นที่เล็กลงมา (max. capacity 70 port) ซึ่งสามารถนําไปติดตั้งตามสถานีย่อย หรือตามอาคารชุดอยู่อาศัยได้ โดยมีรายละเอียดแต่ละ module ดังนี้
• 7 service module slots
• 2 network module slots
• 1 control module slots

ว่าด้วยเรื่อง "APU" CPU ตัวจี๊ดของ AMD

0 ความคิดเห็น
APU นั้นย่อมาจาก Accelerated Processing Unit ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกถึงหน่วยประมวลผลที่มีการรวมกันระหว่าง CPU + GPU + Chipset ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ ก็ตามภาพด้านล่างนี้เลยครับ










หรือเรียกกันง่ายคือเอาชิปเซ็ทของการ์ดจอมารวมเข้าด้วยกันกับ CPU 






APU เองนั้น มีระบบในการสนับสนุนการทำงานต่างๆมากมาย อย่างเช่น

ช่วยให้สามารถใช้งาน Internet ได้อย่างราบรื่น ภาพที่ได้จากหน้า web browser มีความสวยงาม คมชัด
สามารถรับชมภาพยนตร์ระดับ 1080p ได้อย่างไม่มีสะดุด ภาพที่ได้คมชัด สดใส
ช่วยเสริมการ streaming วิดีโอระดับ HD
ช่วยเพิ่มความเร็วในการใช้งานให้กับโปรแกรมที่ใช้งานทั่วไป ให้สามารถใช้งานได้อย่างไหลลื่น โดยเฉพาะเกมและโปรแกรมตกแต่งภาพ/วิดีโอด้วยการสนับสนุน DirectX 11 จากในตัว APU เลย





3. ถ้าจะจับ AMD E-350 ไปเทียบกับ AMD Athlon และ Intel Pentium จะเทียบกันตรงไหนได้บ้าง ??



เมื่อจับเทียบกัน ก็จะเห็นว่า E-350 มีจุดเด่นที่เหนือกว่าในหลายๆส่วน เช่น DirectX ที่รองรับถึงรุ่น 11, การกินไฟที่ต่ำ แถมยังรองรับ DirectCompute ในตัว เนื่องด้วยการมี GPU อยู่ในตัวด้วยนั่นเอง

4. แล้วถ้าเอาไปเทียบกับ Intel Core i3 หรือ Intel Core i5 ล่ะ เป็นอย่างไร ??
จริงอยู่ที่พลังในการประมวลผลนั้นอาจจะสู้ไม่ได้ แต่ก็มีข้อดีที่เหนือกว่า CPU 2 ตระกูลนั้นอยู่คือ
ในตัวชิปมีการรวมการทำงานของทั้ง CPU และ GPU โดยเฉพาะ GPU ที่มีความแรงพอๆกับการ์ดจอแยกบางตัวเลยทีเดียว
มีการใช้พลังงานที่ต่ำ โดยมี TDP เพียงแค่ 18W เท่านั้น

5. แล้วจะติดตั้ง AMD Fusion APU ได้อย่างไรละ socket มันเป็นยังไง (กรณี desktop PC) ??
ในเรื่องนี้ไม่ต้องกังวลเลย เพราะสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ก็มีแค่ power supply กับ RAM เท่านั้น (อย่าลืม HDD หรือ SSD ด้วยนะ) เพียงแค่นี้ก็สามารถรับประสบการณ์ที่พลังแห่ง Fusion จะมอบให้ทุกท่านได้แล้วล่ะ

6. มีระบบปฏิบัติการอะไรรองรับ AMD Fusion APU บ้าง ??
สำหรับ AMD E-350 นั้น ระบบปฏิบัติการที่เหมาะสมที่สุดก็หนีไม่พ้น Windows 7 แบบ 64-bit ครับ แต่ระบบอื่นๆก็สามารถติดตั้งได้เช่นเดียวกัน ถ้าจะให้ดี ก็ลองเช็คจากเว็บไซต์ของผู้นำ AMD Fusion APU มาใช้ว่าแนะนำระบบอะไรบ้างด้วยจะดีที่สุดครับ

7. ตัว GPU เนี่ย ต้องมี video RAM เหมือนการ์ดจอทั่วไปมั้ย ??
ไม่ต้องครับ เพราะตัว GPU จะใช้แรมร่วมกับระบบ ซึ่งก็คือ DDR3 ในปัจจุบันนี่เอง
 

8. แล้ว APU มันต่างจากการ์ดจอ onboard ยังไง ??
ตัว AMD E-350 นั้น มี GPU ในตัว ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเดียวกับ AMD Radeon ในการฺ์ดจอแยกเลยทีเดียว ซึ่งประสิทธิภาพนั้นเหนือกว่าการ์ดจอ onboard แบบเดิมๆ ครับ

9. ผมจะอัพเกรดตัว AMD APU E-series หรือ C-series ได้หรือไม่ ??
ไม่ได้ครับ ตัวชิปนั้นไม่สามารถอัพเกรดได้ แต่ระบบที่ติดตั้งมานั้น มีพอร์ตที่รองรับการเชื่อมต่อมาอย่างครบถ้วน ทำให้สามารถอัพเกรดในส่วนอื่นๆ เช่น ใส่การ์ดจอแยก เพิ่มแรมได้อย่างคอมพิวเตอร์ทั่วไป

10. Driver ที่ใช้ สามารถไล่ตามอัพเกรดได้เหมือนการ์ดจอแยกหรือเปล่า ??
มีการวางแผนจะให้สามารถอัพเกรดได้แน่นอนครับ เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มยิ่งขึ้น

11. ตัว APU นั้น unlocked ( ยอมให้ทำการ overclock ) หรือไม่ ??
ไม่ได้ครับ ผู้ใช้ไม่สามารถทำการ overclock ได้ (ก็คือมัน locked นั้นเอง)


12. ใครจะเป็นผู้รับประกันผลิตภัณฑ์ให้ ทาง AMD เองหรือจะเป็นผู้ผลิด mainboard ??
ผู้ผลิต mainboard หรือ ผู้ผลิต notebook ครับ

13. ถ้าใช้ AMD Fusion APU อยู่แล้ว จะสามารถติดตั้งการ์ดจอแยกเข้าไปอีกได้หรือไม่ ??
ได้ครับ สบายๆเลย

14. เห็นเน้นตัว Fusion platform มากๆ แล้วAMD จะยังขาย CPU แบบปกติอยู่หรือเปล่า ??
ยังขายอยู่ครับพี่น้อง !!

15. ขอเหตุผลหน่อยครับ ในเมื่อมี APU ขายแล้ว แล้วมีเหตุผลอะไรที่ผมยังต้องซื้อ CPU แบบธรรมดาอยู่อีกหรือ ??
ขอตอบก่อนเลยว่า ระบบที่ใช้ CPU และการ์ดจอแยกนั้น ยังมีความจำเป็นอยู่มาก เนื่องด้วยประสิทธิภาพที่สูงกว่า APU โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานที่ต้องใช้เครื่องประสิทธิภาพสูงๆ ครับ

ที่มา : AMD







ไว้คราวหน้าจะมาบอกรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ APU กันอีกบลอกหน้านะครับ